ข้อเสนอโครงการวิจัยเบื้องต้นและข้อเสนอโครงการเต็มรูป
ข้อเสนอโครงการวิจัยเขียนได้ 2 รูปแบบ
1. ข้อเสนอโครงการวิจัยเบื้องต้น ควรมีความยาวประมาณ 2 – 5 หน้า โดยผู้เขียนข้อเสนอโครงการจะชี้ประเด็นที่สำคัญที่จะศึกษาและวิธีการศึกษาอย่าง ย่อๆ
2. ข้อเสนอโครงการเต็มรูป ความยาวไม่ควรต่ำกว่า 20 หน้า ให้เขียนรายละเอียดทุกอย่างที่อยู่ใน pre-proposal พร้อมเพิ่มเติมบางรายการ และต้องเขียนวิธีการศึกษาให้ละเอียดที่สุด
กรอบแนวคิด
(conceptual framework)
|
กำหนดปัญหา
(problem identification)
|
การทบทวนเอกสาร
(literature review)
|
วิธีการศึกษา
(method and procedures)
|
วัตถุประสงค์
(objectives)
|
ความเชื่อมโยงของส่วนประกอบสำคัญในข้อเสนอโครงการวิจัย
|
จาก Ethridge ยังมีข้อเสนอแนะแก่ผู้วิจัยว่า ในกรณีการเขียนข้อเสนอแนะโครงการวิจัยแต่
ละครั้ง ผู้วิจัยควรตระหนักถึงประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. ผู้วิจัยมีความสนใจกับปัญหาที่จะทำหรือไม่
2. มีความขาดแคลนองค์ความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่จะทำวิจัยนั้น ๆ จริงหรือไม่
3. ผู้วิจัยตระหนักถึงความต้องการของคนอื่น ๆ ที่มีต่อโครงการวิจัยนั้น ๆ หรือไม่
4. วัตถุประสงค์ของการวิจัยเหมาะสมกับปัญหาของการวิจัย และมีความเฉพาะเจาะจงเพียงพอหรือไม่
5. ผู้วิจัยมีทรัพยากร(ความรู้ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และเงินทุนเพียงพอสำหรับทำโครงการนั้น ๆ หรือไม่)
6. โครงการวิจัยมีข้อจำกัดทั้งภายในและภายนอกอะไรหรือไม่ อย่างไร
7. คุณค่าที่ได้รับจากโครงการวิจัยมากกว่าต้นทุนที่เสียไปหรือไม่
8. ผลของการวิจัยสามารถนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวางหรือไม่
ประเด็นที่ควรมีในโครงการวิจัย
- กล่าวถึงปัญหาในการวิจัย
- ชี้ให้เห็นความสำคัญของปัญหา
- แสดงนิยาม ข้อสมมติ และข้อจำกัดให้ชัดเจน
- ทบทวนวรรณกรรม หรือจัดทำวรรณกรรมปริทัศน์
- ชี้ให้เห็นสมมติฐานที่ตั้งขึ้น
- แสดงวิธีการที่ใช้ในการศึกษา
- แสดงแผนการดำเนินงาน หรือระยะเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอน
ความสอดคล้องระหว่างชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์และวิธีการศึกษา
ก่อนลงมือเขียนวัตถุประสงค์และวิธีการศึกษา ผู้วิจัยต้องพิจารณาก่อนว่าชื่อเรื่อง หรือชื่อโครงการที่จะทำวิจัยนั้นสื่อความได้ดีหรือยัง ซึ่งหมายถึงเมื่ออ่านชื่อโครงการวิจัยแล้วผู้อ่านสามารถทราบได้ทันทีว่าผู้วิจัยจะทำอะไรในโครงการนั้น และเรื่องที่จะทำวิจัยนั้นก็แปลงมาจากวัตถุประสงค์ของการวิจัย อาจเป็นข้อเดียวหรือพรรณนา ความหลายข้อ
การตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อเสนอโครงการวิจัย
ข้อเสนอโครงการวิจัยนั้น ต้องเป็นข้อเสนอวิจัยที่ดี มีความครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ควรจะเป็น เพื่อตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อเสนอโครงการวิจัย ต้องตรวจสอบอีกครั้ง หลังจากเขียนร่างครั้งแรกเสร็จแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่าข้อเสนอโครงการที่เขียนนั้นครบถ้วนสมบูรณ์ โดยประเด็นที่จะตรวจสอบ ดังนี้
- หัวข้อชัดเจนและกะทัดรัด
- ปัญหาในการวิจัยได้ถูกกล่าวไว้อย่างชัดเจน
- ข้อจำกัดในการวิจัยได้ถูกกล่าวไว้อย่างชัดเจน
- ข้อสมมติในการวิจัยได้ถูกกล่าวไว้อย่างชัดเจน
- ข้อสมมติที่ตั้งขึ้นมีเหตุผลสนับสนุน
- คำสำคัญต่าง ๆ ได้ถูกนิยามไว้อย่างดี
- ประเด็นที่จะศึกษาได้ถูกกล่าวไว้อย่างชัดเจน
- สมมุติฐานหรือคำถามในการวิจัยได้ถูกกล่าวไว้อย่างชัดเจน
- สมมุติฐานหรือคำถามในการวิจัยสามารถทดสอบหรือหาคำตอบได้
- ความสัมพันธ์ ความเหมือน หรือความแตกต่าง ระหว่างวิจัยชิ้นนี้ กับงานวิจัยที่เคยทำกันมา ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน
- วรรณกรรมปริทัศน์ได้ถูกสรุปไว้อย่างดี
- วิธีการศึกษาได้ถูกกล่าวไว้อย่างละเอียด
- วิธีการศึกษาที่ใช้นั้นเหมาะสมสำหรับการหาคำตอบ
- ประชากรและตัวอย่างได้เขียนไว้อย่างชัดเจน
- วิธีการคัดเลือกตัวอย่างที่ใช้มีความเหมาะสม
- วิธีการเก็บข้อมูลได้กล่าวถึงอย่างละเอียด
- วิธีการเก็บข้อมูลเหมาะสมกับคำตอบที่ต้องการ
- วิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีความเหมาะสม
- การเขียนเครื่องหมายวรรคตอนทำได้อย่างถูกต้อง
- มีการตรวจสอบคำผิดและหลักไวยากรแล้ว
- ข้อความที่เขียนมีความยุติธรรม ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือมีอคติ
- มีการใช้ตารางและรูปภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
จุดอ่อนของข้อเสนอโครงการวิจัยที่เสนอขอรับเงินทุนวิจัย
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยต้อง ทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพชัดเจนว่า จะเป็นอย่างไร สรุปได้ดังนี้
1. เขียนประเด็นชัดเจน และตอบปัญหาในการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยคือ why what how
2. พยายามชี้ชวนให้ผู้อ่านโดยเฉพาะแหล่งที่ให้การสนับสนุนทางเงินทุน เห็นความสำคัญของเรื่องหรือปัญหาที่จะทำวิจัย
3. เขียนรายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดนเฉพาะในส่วนของวิธีการศึกษา หรือดำเนินการวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะหาคำตอบได้
4. แสดงแผนการและขั้นตอนการดำเนินงานให้ชัดเจน และสอดคล้องกับความเป็นไปได้ของโครงการในแง่ บุคลากร งบประมาณ และระยะเวลาของการทำวิจัย
5. เนื้อความที่เขียนควรจะราบรื่น ต่อเนื่อง และกลมกลืน ตลอด (วิธีช่วยคือ อ่านทบทวนหลาย ๆ ครั้ง แล้วแก้ไข/ปรับปรุง)
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ประเภทของข้อมูล
ข้อมูลที่จะเก็บมีคุณสมบัติดังนี้
1. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กรอบแนวคิด สมมุติฐาน เครื่องมือ หรือวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
2. มีความถูกต้อง
3. มีความน่าเชื่อถือ
ฉะนั้นก่อนลงมือเก็บข้อมูล ผู้วิจัยจะต้อง
1. ทบทวนวัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา และสมมุติฐานของงานวิจัยว่างานวิจัยดังกล่าวมีตัวแปรอะไรบ้าง ข้อมูลที่จะใช้เป็นประเภทใด แหล่งข้อมูลอยู่ที่ไหน จะหามาได้อย่างไร
2. กรณีที่เป็นข้อมูลปฐมภูมิ จะหามาโดยวิธีใด เช่น การใช้แบบสอบถาม การใช้แบบทดสอบ การสัมภาษณ์ การสังเกต หรือการทดลอง ประชากรเป้าหมายมีมากน้อยเพียงใด กรอบการเลือกตัวอย่างเป็นอย่างไร
3. กรณีที่เป็นทุติยภูมิ ก็ต้องทราบว่าแหล่งข้อมูลสำหรับตัวแปรนั้น ๆ อยู่ที่ไหน มีกี่แห่ง สมควรจะได้แห่งใดก่อนหลัง และแหล่งใดเป็นแหล่งโดยตรงของข้อมูลนั้น
4. กรณีที่ตัวแปรหนึ่ง ๆ สามารถใช้ข้อมูลหรือตัวเลขที่แสดงถึงตัวแปรนั้นได้มากกว่า 1 ตัว ผู้วิจัยต้องพิจารณาว่าควรใช้ข้อมูลตัวใดจึงจะดีที่สุด ทั้งในแง่ของความถูกต้อง ความสะดวก หรือความสมบูรณ์ของข้อมูล
มาตราวัดระดับของข้อมูล
เมื่อมีการวิจัย ใด ๆ ก็ตามก่อนลงมือเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยต้องทราบแน่นอนแล้วว่าข้อมูลที่ต้องใช้ในงานวิจัยนั้นมีอะไรบ้าง และจะเก็บรวบรวมมาจากไหน ด้วยวิธีการอะไรมาตราวัดระดับของข้อมูลมี 4 ระดับ
1. ข้อมูลในมาตรวัดนามบัญญัติ ข้อมูลที่อยู่ในระดับนี้จะเป็นข้อมูลในระดับต่ำสุดที่มีข้อจำกัดทางด้านการใช้เครื่องมือทางสถิติมากที่สุด เป็นข้อมูลที่แยกออกเป็นกลุ่ม ไ ได้ และคุณสมบัติของข้อมูลในแต่ละกลุ่มต่างกันอย่างเด็ดขาด ไม่อาจมาบวกหรือลบกันได้ เช่น เพศ ศาสนา สีผิว
2. ข้อมูลในมาตรวัดอันดับ เป็นข้อมูลที่ไม่เพียงแต่แบ่งออกเป็นกลุ่มได้ แต่ยังสามารถบอกลำดับของข้อมูลนั้น ๆ ได้ด้วย
3. ข้อมูลในมาตรวัดอันตราภาค หรือข้อมูลที่สามารถทำเป็นช่วงต่อเนื่องกันได้เป็นข้อมูลที่บอกระยะความห่างซึ่งกันและกันด้วยช่วงที่เท่ากัน คือสามารถกำหนดช่วงความห่างของความแตกต่างได้แน่นอน สามารถบอกหรือลบด้วยค่าคงที่ได้โดยไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในอันดับ หรือขนาดของความแตกต่าง
4. ข้อมูลในมาตรวัดอัตราส่วน เป็นข้อมูลที่มีทั้งระดับ 3 ระดับรวมกัน ยังมีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือ มีจุดเริ่มต้นหรือมีศูนย์ที่แท้จริง และเป็นข้อมูลที่สามารถชั่งตวงได้ เช่น นน. ส่วนสูง
การเก็บรวมรวมข้อมูลทุติยภูมิ
ผู้วิจัยต้องออกไปหาข้อมูลจากแหล่งของเจ้าของข้อมูลโดยตรง หรือแหล่งรวบรวมข้อมูลเหล่านั้น ต้องแน่ใจว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นเพียงพอต่อการวิเคราะห์ และมีการปรับ ข้อมูลเพื่อให้ถูกต้อง สอดคล้อง และเหมาะสมกับการวิเคราะห์ข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและการเลือกตัวอย่าง
1. หลักการในการเลือกตัวอย่าง
2. ประชากรเป้าหมายและกรอบการเลือกตัวอย่าง
3. การเลือกตัวอย่างโดยคำนึงถึงความน่าจะเป็น
4. การเลือกตัวอย่างโดยไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น
5. การกำหนดจำนวนตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ข้อได้เปรียบของการใช้แบบสอบถาม
|
ข้อเสียเปรียบของการใช้แบบสอบถาม
|
1.สามารถใช้ได้หลายวิธี
|
1. ปัญหาในการออกแบบสอบถาม
|
2.สามารถครอบคลุมกลุ่มคนหรือองค์กรจำนวนมากได้
|
2. คำถามต้องง่ายต่อการตอบ
|
3. ครอบคลุมพื้นที่ภูมิศาสตร์อย่างกว้างขวาง
|
3. อัตราการตอบกลับมักต่ำ
|
4. ค่าใช้จ่ายค่อนข้างถูก
|
4. ใช้เวลามากระหว่างรอการตอบกลับ
|
5. อาจไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า
|
5. คนที่จะตอบต้องสามารถอ่านออกเขียนได้
|
6. คนตอบอาจไม่รู้สึกลำบากใจในการตอบ
|
6. ไม่สามารถควบคุมความสมบูรณ์หรือความครบถ้วนของการตอบ
|
7. ผู้ตอบสามารถพิจารณาว่าจะตอบหรือไม่ตอบก็ได้
|
7. ผู้ตอบรู้คำถามแล้วอาจจะไม่ตอบหรือไม่ตอบก็ได้
|
ข้อได้เปรียบของการสัมภาษณ์
|
ข้อเสียเปรียบของการสัมภาษณ์
|
1. อัตราการตอบกลับสูง
|
1. ต้องนัดหมายเวลาให้แน่นอน
|
2. ได้ข้อมูลทันทีและครบถ้วน
|
2. ใช้เวลามาก
|
3. สามารถใช้คำถามลึก ๆ ได้
|
3. ค่าใช้จ่ายสูง
|
4. ผู้สัมภาษณ์สามารถอธิบายเพิ่มเติมได้หากมีปัญหา
|
4. มีข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์
|
5. สามารถสำรวจแรงจูงใจหรือความรู้สึกของผู้ตอบได้
|
5. อาจมีความเอนเอียงได้
|
6. สามารถประเมินความรู้สึกของผู้ตอบได้
|
6. คำถามบางข้ออาจทำให้ผู้ตอบอับอายได้
|
7. สามารถใช้เครื่องบันทึกเสียงได้
|
7. ต้องมีการฝึกฝนการสัมภาษณ์เป็นอย่างดี
|
การวิเคราะห์และการแปลความหมายข้อมูล
การตรวจสอบและการแยกประเภทข้อมูล
งานวิจัยที่ต้องมีการสำรวจข้อมูลภาคสนามหรือใช้ข้อมูลปฐมภูมิ โดยเฉพาะข้อมูลปฐมภูมิที่ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องในการเก็บ เมื่อผู้วิจัยจัดทำแบบสอบถามเสร็จเรียนร้อยแล้ว ผู้วิจัยอาจนำคำถามต่าง ๆ ในแบบสอบถามมาทำเป็นตารางหุ่นเตรียมการไว้ก่อน การกระทำดังกล่าวเป็นการช่วยให้ผู้วิจัยได้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามอีกทางหนึ่งด้วย
เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล
เครื่องมือทางสถิติที่จะใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในมาตรวัดต่าง ๆ ผู้วิจัยสามารถเลือกใช้เครื่องมือและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ให้เหมาะสมกับงานวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ได้ โดยทั่วไปการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถทำได้ใน 2 รูปแบบหลักคือ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเหตุผล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเหตุผล
เป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาอย่างแท้จริงผลส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะการบรรยายผู้วิจัยต้องอ่านทฤษฏีให้แตกฉาน การนวิเคราะห์จะต้องเป็นขั้นตอน แสดงความเป็นเหตุผลซึ่งกันและกันมีข้อเท็จจริงสนันสนุนการวิเคราะห์
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ
สถิติที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สถิติพรรณนา และสถิติอ้างอิง สถิติพรรณนาเป็นสถิติที่ใช้สรุปหรือบรรยายให้เห็นคุณลักษณะของตัวแปรที่เก็บรวบรวมมาจากประชากรหรือจากกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะ สถิติอ้างอิง เป็นสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแล้วสรุปไปยังประชากรเป้าหมายที่ต้องการศึกษา โดยอาศัยทฤษฏีความน่าจะเป็น
เครื่องมือทางสถิติ
1. การวิเคราะห์เชิงบรรยาย วัตถุประสงค์เพื่อพรรณนา ความเกี่ยวกับข้อมูลชุดที่ใช้
2. การวิเคราะห์เชิงอ้างอิง ใช้ในการหาข้อสรุปเกี่ยวกับคุณลักษณะของประชากรจากตัวอย่าง
3. การวิเคราะห์ความแตกต่าง ใช้สำหรับเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของข้อมูลกลุ่มหนึ่งกับค่าเฉลี่ยของข้อมูลอีกกลุ่มหนึ่ง
4. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ใช้สำหรับการพิจารณาความแข็งแกร่งและทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป
5. การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ ใช้สำหรับการพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น